ปิดฉาก 9 ปี ‘พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

ปิดฉาก 9 ปี ‘พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ไล่เรียงไทม์ไลน์สำคัญๆ โดยสังเขป

– 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เข้าสู่อำนาจด้วยการรัฐประหาร รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

– 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 มีพระราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

– 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 มีการเลือกตั้งทั่วไป

– พล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ของพรรคพลังประชารัฐ

– ผลการเลือกตั้ง 2562 พรรคพลังประชารัฐ เป็นพรรคอันดับ 2 ของสภาผู้แทนราษฎร แต่รวบรวมเสียง สส. จัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ต่อ

– 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พล.อ.ประยุทธ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ระหว่างรอคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ปมวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี (เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน)

– 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 ต่อ 3 การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ถึง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ไม่สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง 8 ปี

– 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 มีการเลือกตั้งทั่วไป

– พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนักการเมืองเต็มตัว เข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ และเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ ลงพื้นที่หาเสียงขึ้นเวทีปราศรัยหลายครั้ง

– แต่พรรครวมไทยสร้างชาติ แพ้การเลือกตั้ง ได้ สส.เพียง 36 คน

– 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ประกาศวางมือทางการเมือง ด้วยการลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ

หลังการจัดตั้งรัฐบาล ที่นำโดยพรรคเพื่อไทย สุดท้ายจับมือ พรรครวมไทยสร้างชาติ เข้าร่วมรัฐบาล 314 เสียง

– 24 สิงหาคม พ.ศ. 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ที่ทำเนียบรัฐบาล เป็นครั้งแรกที่เกิดภาพเช่นนี้ ให้หน้าข่าวการเมืองไทย

– 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พล.อ.ประยุทธ์ เข้าทำเนียบรัฐบาล ครั้งสุดท้ายเพื่ออำลา

ภาพจาก ทำเนียบรัฐบาล

“อธิษฐานให้บ้านเมืองสงบร่มเย็น​” พล.อ.ประยุทธ์ เข้าทำเนียบฯ วันสุดท้าย ปิดฉากนายกฯ 9 ปี